วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ปวดหลัง : ทางเลือก รักษาได้ไม่ผ่าตัด






ปวดหลัง : ทางเลือก รักษาได้ไม่ผ่าตัด




อาการปวดหลัง นับว่าเป็นปัญหาสำคัญพบได้บ่อยที่สุดของโรคกระดูกและข้อ สามารถเกิดขึ้นกับคนทุกวัย ตั้งแต่วัยหนุ่มสาว วัยทำงานจนถึงวัยผู้สูงอายุ สาเหตุของอาการปวดหลังในวัยหนุ่มสาวและวัยทำงานส่วนใหญ่มักเกิดจากหมอนรอง กระดูกสันหลังเคลื่อนกดทับเส้นประสาท และพฤติกรรมการจัดท่าในการทำงานที่ไม่ถูกต้อง การยกของไม่ถูกวิธี ส่วนในวัยผู้สูงอายุสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม กระดูกข้อต่อระหว่างกระดูกสันหลังมีการอักเสบ เกิดกระดูกงอกเนื่องจากการเสื่อมมากดทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการปวดหลังร้าวลงไปที่บริเวณสะโพก บริเวณด้านหลังของต้นขา และบางครั้งอาจมีการปวดร้าวลงบริเวณน่อง ร่วมกับมีอาการชาบริเวณหลังเท้า และส้นเท้าร่วมด้วย ทำให้ผู้ป่วยทนทุกข์ทรมานจากอาการปวด มีผลต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย เมื่อท่านมีอาการและอาการแสดงเกี่ยวกับอาการปวดหลัง มีสัญญาณเตือนบางอย่างที่ทำให้ท่านต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย หรืออาจจำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยพิเศษเพิ่มเติม ได้แก่ มีอาการไข้ เมื่อรักษาด้วยการรับประทานยาแก้ปวดแล้วอาการไม่ดีขึ้น ผู้ที่มีประวัติเคยเป็นโรคมะเร็งมาก่อน มีอาการปวดหลังร่วมกับมีปัสสาวะเล็ดหรือไม่สามารถกลั้นอุจจาระและปัสสาวะได้ มีอาการอ่อนแรงของขา หรือเสียสมดุลของร่างกาย มีอาการปวดหลังมากตอนกลางคืนหรือมีอาการปวดมากแม้ไม่ได้ทำงาน หรือน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ เป็นต้น
การรักษาอาการปวดหลัง ทำได้โดย
1. การปฏิบัติตัว ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่จะทำให้มีอาการปวดหลังเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ การนั่งกับพื้น การก้มยกของหนัก เพราะน้ำหนักของร่างการส่วนใหญ่จะลงตรงบริเวณกระดูกสันหลังส่วนเอว ทำให้เกิดการอักเสบของกระดูกข้อต่อบริเวณกระดูกสันหลัง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดเพิ่มมากขึ้น การใช้เก้าอี้นั่งควรใช้ชนิดที่มีพนักพิงหลัง เพราะจะช่วยลดแรงที่กระทำต่อกระดูกข้อต่อบริเวณสันหลังส่วนเอว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นการแก้ที่สาเหตุของอาการปวด เพราะถ้าผู้ป่วยไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมทั้งการลดน้ำหนักตัว อาการปวดของผู้ป่วยก็มักจะไม่ทุเลาลง และถึงแม้ว่าจะรับการรักษาด้วยการผ่าตัด ในที่สุดผู้ป่วยก็จะกลับมามีอาการปวดอีกครั้งหนึ่ง
2. การใช้ยาลดอาการปวด และยาต้านการอักเสบ ชนิดรับประทาน เพื่อบรรเทาอาการปวด
3. การใช้ยาสเตียรอยด์ร่วมกับยาชาเฉพาะที่ฉีดเข้าไปยังช่องว่างโพรงประสาท บริเวณกระดูกก้นกบ จากการศึกษาวิจัยของ ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่า มากกว่าร้อยละ 90 ของผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดยาสเตียรอยด์ร่วมกับยาชาเฉพาะที่เข้าไปยังช่อง ว่างของโพรงประสาท โดยการใช้เครื่องอัลตราซาวด์ช่วยในการระบุตำแหน่งที่ฉีดสามารถลดอาการปวด หลังภายหลังการติดตามผลการรักษาเป็นระยะเวลา 3 เดือนในผู้ป่วยที่มีหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาทได้ นอกจากนี้ยังทำให้การทำงานกิจวัตรประจำวัน และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น ช่วยบรรเทาอาการปวดทำให้ผู้ป่วยทำกายภาพบำบัดได้สะดวกมากขึ้น สามารถลดอุบัติการณ์การผ่าตัดกระดูกสันหลังให้ผู้ป่วยได้ กลไกในการลดอาการปวดจากการฉีดยาสเตียรอยด์จะช่วยลดการบวม การอักเสบของเส้นประสาทที่ถูกกดทับ ทำให้การไหลเวียนของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงที่บริเวณเส้นประสาทบริเวณกระดูก สันหลังดีขึ้น เส้นประสาทยุบบวมจากการอักเสบ จึงทำให้อาการปวดหลังของผู้ป่วยดีขึ้น
วิธีการนี้เหมาะสมเป็นอย่างมากสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ต้องการรักษาด้วยการ ผ่าตัดกระดูกสันหลังหรือมีความเสี่ยงสูงจากการผ่าตัด นอกจากนี้ยังใช้ได้ผลดีในกรณีที่ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดแล้ว ยังมีอาการปวดหลังและอาการปวดชาร้าวลงขา ซึ่งพยาธิสภาพที่เกิดหลังผ่าตัดคือ การมีพังผืดไปกดรัดเส้นประสาทหลังจากการผ่าตัด ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังร่วมกับอาการปวดร้าวลงขาอยู่ การฉีดยานี้จะช่วยแยกสลายพังผืดที่กดรัดรอบ ๆ เส้นประสาท และลดการอักเสบของเส้นประสาท และเนื้อเยื่ออ่อน ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ทำให้ลดอาการปวดให้ผู้ป่วย อีกทางหนึ่งด้วย ยิ่งในปัจจุบันด้วยวิวัฒนาการของเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า จึงมีการนำคลื่นเสียงความถี่สูงหรือเครื่องอัลตราซาวด์มาช่วยเป็นเครื่อง ชี้นำ บ่งบอกถึงตำแหน่งของบริเวณที่จะฉีดยา ทำให้การฉีดยาเข้าโพรงประสาทมีความแม่นยำมากขึ้น และสามารถทำได้โดยไม่ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
4.การทำกายบริหารและการยืดกล้ามเนื้อ จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นเพิ่มมากขึ้นอาการปวดหลังเป็นปัญหาที่ สำคัญดังนั้นการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทั้งในเรื่องของการนั่งทำงานที่ไม่ ถูกต้อง การยกของที่ไม่ถูกวิธี การรักษาด้วยการใช้ยารับประทานในผู้สูงอายุควรระวังการใช้ยาในกลุ่มต้านการ อักเสบเพื่อลดอาการปวด เพราะจะทำให้มีผลต่อกระเพาะอาหาร ทำให้ปวดท้องและบางครั้งอาจทำให้เลือดออกในกระเพาะอาหารได้ การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาทโดยการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงบอกตำแหน่ง นับว่าเป็นทางเลือกหนึ่งของการรักษาแบบประคับประคอง เพื่อหลีกเลี่ยงการผ่าตัดที่ไม่จำเป็น




















การบริหารสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลัง



การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาทโดยใช้เครื่องเสียงความถี่สูงช่วยในการระบุตำแหน่งที่ฉีด






ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์ ภาควิชาออร์โทปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
tleerapun@gmail.com , www.taninnit.com ,Facebook: Dr.Keng หมอเก่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น