วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560

4 วิธีป้องกันอาการปวดหลัง ขณะเดินทางบนเครื่องบิน

4 วิธีป้องกันอาการปวดหลัง ขณะเดินทางบนเครื่องบิน

การเดินทางเป็นสิ่งสนุกและท้าทายสำหรับชีวิตเพื่อที่จะท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆ หรือเดินทางเพื่อทำธุรกิจ อย่างไรการเดินทางไกลบนเครื่องบินที่จะต้องใช้เวลานานก็อาจจะทำให้ท่านเกิดอาการปวดหลังขึ้นมาได้

สาเหตุที่สำคัญของอาการปวดหลังในขณะที่เดินทางเนื่องมาจาก ลักษณะท่าทางของร่าง
กายที่ไม่ถูกลักษณะ (poor posture) การนั่งเป็นระยะเวลานาน และการที่ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหว ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในขณะที่เดินทางบนเครื่องบินเป็นระยะเวลานาน

4 วิธีป้องกันอาการปวดหลังในขณะเดินทางบนเครื่องบินที่ต้องใช้ระยะเวลานานได้แก่
  1. การเลือกที่นั่งโดยสาร ควรคำนึงถึงความสูงของท่านเมื่อเลือกที่นั่งโดยสารบนเครื่องบิน ถ้าท่านมีความสูงมากควรเลือกที่นั่งบริเวณริมทางเดิน (Aisle) เพื่อที่จะสามารถขยับเหยียดขาได้มากขึ้น
  2. มีช่องว่างสำหรับวางเท้า  ให้มีพื้นที่ที่เพียงพอสำหรับการวางเท้า หลีกเลี่ยงการเอากระเป๋าสัมภาระมาวางไว้ตรงที่วางเท้าด้านหน้า  นำสัมภาระของท่านเก็บไว้บนช่องเก็บสัมภาระด้านบน
  3. การเคลื่อนไหวขาและเท้า พยายามเหยียดเท้า เข่า ขา ซึ่งจะช่วยให้การไหลเวียนของเลือดที่บริเวณขาและเท้า ลดความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดที่ระยางค์ส่วนล่าง
  4. การออกกำลังกาย โดยการขยับร่างกาย
    1. การยกก้น ขณะนั่งบนเครื่องให้ยกก้นข้างใดข้างหนึ่ง แล้วค้างไว้สัก 5 วินาที แล้วทำสลับกัน 2 ด้านสัก 5 ครั้ง
    2. หมุนเท้าประมาณ  20  ครั้งต่อข้าง
    3. การกดหลังกับเบาะที่นั่ง แล้วยกไหล่มาด้านหน้า สลับกับการกดไหล่กับพนักพิงทำสลับกันสัก  5  ครั้ง
    4. การหมุนไหล่ไปด้านหน้า 10 ครั้ง หมุนไปด้านหลัง 10 ครั้ง
    5. การหมุนศรีษะช้าๆ และเบาๆ


ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์
line ID search : @doctorkeng  


วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การตรวจด้วย MRI  

MRI  เป็นการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีวัตถุประสงค์เพื่อดูรายละเอียดของพยาธิสภาพต่างๆที่เกิดกับร่างกาย สิ่งที่สามารถเห็นได้ชัดเจนจากการทำ MRI  ได้แก่ เนื้อเยื่ออ่อนต่างๆเช่น กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เส้นประสาท หมอนรองกระดูก กระดูกอ่อน ดังนั้นจึงมีประโยชน์มากในผู้ป่วยที่มี

อาการปวดไหล่ เพื่อจะวินิจฉัยดูว่ามีการฉีกขาดของเส้นเอ็น หรือพยาธิสภาพของเส้นเอ็นที่บริเวณของหัวไหล่หรือไม่
อาการปวดหลัง สามารถช่วยในการวินิจฉัยว่ามีปัญหาในเรื่องของหมอนรองกระดูกสันหลังมีการเคลื่อนกดทับสารทหรือไม่
อาการปวดเข่า สามารถช่วยวินิจฉัยว่ามีการฉีกขาดของเส้นเอ็นหรือไม่

รวมทั้งช่วยในการวินิจฉัยก้อนเนื้องอก และมะเร็งกระดูก มะเร็งเนื้อเยื่ออ่อนได้เป็นอย่างดี


ดังนั้นในผู้ป่วยที่มีอาการปวดเรื้อรังมานาน รักษาแล้วไม่ดีขึ้น การตรวจด้วย MRI  ก็เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการช่วยการวินิจฉัยโรคต่างๆเหล่านี้




ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์
line ID search : @doctorkeng    

วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ปวดหลังรักษาได้ไม่ผ่าตัด

ปวดหลัง รักษาได้ไม่ผ่าตัด

บรรยายงานเสวนาโรคกระดูกและข้อ ให้ความรู้ประชาชน 21 กันยายน 2558 ณ โรงแรมดิเอ็มเพลส โดย ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์ www.taninnit.com

 

รายการคุยกับหมอสวนดอก เรื่อง ปวดหลังรักษาได้ไม่ผ่าตัด 

 

อธิบายเรื่อง อาการปวดหลัง 

 

 ปวดหลัง รักษาได้ไม่ผ่าตัด

 อาการ ปวดหลัง นับว่าเป็นปัญหาสำคัญพบได้บ่อยที่สุดของโรคกระดูกและข้อสามารถเกิดขึ้นกับคน ทุกวัย ตั้งแต่วัยหนุ่มสาว วัยทำงานจนถึงวัยผู้สูงอายุสาเหตุของอาการปวดหลังในวัยหนุ่มสาวและวัยทำงาน ส่วนใหญ่มักเกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนกดทับเส้นประสาทและพฤติกรรม การจัดท่าในการทำงานที่ไม่ถูกต้อง การยกของไม่ถูกวิธีส่วนในวัยผู้สูงอายุสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากหมอนรอง กระดูกสันหลังเสื่อมกระดูกข้อต่อระหว่างกระดูกสันหลังมีการอักเสบเกิดกระดูก งอกเนื่องจากการเสื่อมมากดทับเส้นประสาททำให้เกิดอาการปวดหลังร้าวลงไปที่ บริเวณสะโพก บริเวณด้านหลังของต้นขาและบางครั้งอาจมีการปวดร้าวลงบริเวณน่อง ร่วมกับมีอาการชาบริเวณหลังเท้าและส้นเท้าร่วมด้วย ทำให้ผู้ป่วยทนทุกข์ทรมานจากอาการปวดมีผลต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเมื่อท่านมีอาการและอาการแสดงเกี่ยวกับอาการปวด หลังมีสัญญาณเตือนบางอย่างที่ทำให้ท่านต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย หรืออาจจำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยพิเศษเพิ่มเติม ได้แก่ มีอาการไข้เมื่อรักษาด้วยการรับประทานยาแก้ปวดแล้วอาการไม่ดีขึ้นผู้ที่มี ประวัติเคยเป็นโรคมะเร็งมาก่อนมีอาการปวดหลังร่วมกับมีปัสสาวะเล็ดหรือไม่ สามารถกลั้นอุจจาระและปัสสาวะได้มีอาการอ่อนแรงของขา หรือเสียสมดุลของร่างกายมีอาการปวดหลังมากตอนกลางคืนหรือมีอาการปวดมากแม้ ไม่ได้ทำงานหรือน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ เป็นต้น
การรักษาอาการปวดหลัง ทำได้โดย

1. การปฏิบัติตัวต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่จะทำให้มีอาการปวดหลังเพิ่มมากขึ้น ได้แก่การนั่งกับพื้น การก้มยกของหนักเพราะน้ำหนักของร่างการส่วนใหญ่จะลงตรงบริเวณกระดูกสันหลัง ส่วนเอวทำให้เกิดการอักเสบของกระดูกข้อต่อบริเวณกระดูกสันหลังทำให้ผู้ป่วย มีอาการปวดเพิ่มมากขึ้นการใช้เก้าอี้นั่งควรใช้ชนิดที่มีพนักพิงหลังเพราะจะ ช่วยลดแรงที่กระทำต่อกระดูกข้อต่อบริเวณสันหลังส่วนเอวการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมนับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นการแก้ที่สาเหตุของอาการปวด เพราะถ้าผู้ป่วยไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมทั้งการลดน้ำหนักตัวอาการปวดของผู้ป่วยก็มักจะไม่ทุเลาลงและถึงแม้ว่าจะ รับการรักษาด้วยการผ่าตัดในที่สุดผู้ป่วยก็จะกลับมามีอาการปวดอีกครั้งหนึ่ง

2. การใช้ยาลดอาการปวด และยาต้านการอักเสบ ชนิดรับประทาน เพื่อบรรเทาอาการปวด

3. การใช้ยาสเตียรอยด์ร่วมกับยาชาเฉพาะที่ฉีดเข้าไปยังช่องว่างโพรงประสาทบริเวณกระดูกก้นกบ โดยการใช้เครื่องอัลตราซาวด์ช่วยในการระบุตำแหน่งที่ฉีด ทำให้การฉีดยาเข้าโพรงประสาทมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้นและสามารถทำได้โดยไม่ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล จากการศึกษาวิจัยในผู้ป่วยที่มีหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท ของ ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์ พบว่าร้อยละ 90 ของผู้ป่วยมีอาการปวดลดลงเป็นอย่างมากภายหลังการติดตามผลการรักษาเป็นระยะเวลา 3 เดือน นอกจากนี้ยังช่วยให้การทำงานกิจวัตรประจำวัน และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น ช่วยบรรเทาอาการปวดทำให้ผู้ป่วยทำกายภาพบำบัดได้สะดวกมากขึ้นสามารถลดอุบัติการณ์การผ่าตัดกระดูกสันหลังให้ผู้ป่วยได้ กลไกในการลดอาการปวดจากการฉีดยาสเตียรอยด์จะช่วยลดการบวมการอักเสบของเส้น ประสาทที่ถูกกดทับทำให้การไหลเวียนของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงที่บริเวณเส้น ประสาทบริเวณกระดูกสันหลังดีขึ้น เส้นประสาทยุบบวมจากการอักเสบจึงทำให้อาการปวดหลังของผู้ป่วยดีขึ้น การ ฉีดยาสเตียรอด์ชนิดฉีดเฉพาะที่เข้าไปยังช่องว่างของเส้นประสาทบริเวณกระดูก สันหลังเป็นวิธีการที่ใช้บ่อยในการรักษาอาการปวดหลังร่วมกับอาการปวดร้าวลง ขา นอกจากนี้การฉีดยายังจะช่วยลดอาการชาและอาการอ่อนแรงอันเนื่องมาจากการ อักเสบของเส้นประสาทได้ ยาที่ฉีดเข้าไปเป็นยาสเตียรอยด์ชนิดฉีดเฉพาะที่ร่วมกับยาชาซึ่งตัวยาจะไป อยู่รอบๆเส้นประสาทที่อยู่ภายในโพรงกระดูกสันหลัง ยาชาอาจจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกชาในช่วงแรกประมาณ 1 – 6 ชั่วโมง คุณสมบัติที่สำคัญของยาสเตียรอยด์คือเป็นยาที่มีฤทธิ์การลดการอักเสบที่ดี มากเมื่อฉีดยาสเตียรอยด์เข้าไปในตำแหน่งของเส้นประสาทที่มีการอักเสบและบวม ยานี้จะช่วยลดการอักเสบเป็นอย่างมากจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดให้แก่ผู้ป่วย การ ลดการบวมของเส้นประสาทช่วยลดอาการชาและอาการอ่อนแรง
        การฉีดยาสเตียรอยด์นี้จะมีผลช่วยบรรเทาอาการปวดชั่วคราวขึ้นอยู่กับลักษณะความรุนแรงของโรคในแต่ละบุคคล ซึ่งอาจมีฤทธิ์อยู่ได้ประมาณ 1 – 3 เดือน ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการปวดให้ผู้ป่วยทำให้ผู้ป่วยสามารถทำกายภาพบำบัดได้ง่าย สะดวกมากยิ่งขึ้นนอกจากนี้ยังช่วยให้ร่างกายสามารถซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้ เช่นในกรณีของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนกดทับเส้นประสาทจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการ ปวดมากในระยะแรกอันเนื่องมาจากสารเคมีที่อยู่ภายในเนื้อของหมอนรองกระดูกสัน หลังที่ฉีกขาดเป็นตัวการที่สำคัญในการทำให้เกิดกระบวนการอักเสบมักจะใช้ระยะ เวลาหลายสัปดาห์ในการที่หมอนรองกระดูกเกิดการซ่อมแซมตนเองจนกระทั่งไม่มีการ รั่วของสารเคมีออกมาระคายเคืองต่อเส้นประสาทซึ่งยาสเตียรอด์ชนิดฉีดเฉพาะที่ จะช่วยลดอาการปวดเมื่อเริ่มต้นและทำให้อาการต่างๆของผู้ป่วยทุเลาลงเป็น อย่างมาก


สำหรับการรักษาด้วยการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาทนั้น หลังจากฉีดยาแล้วส่วนใหญ่อาการปวดจะบรรเทาลงในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังฉีดยา หลังจากนั้นอาจจะเริ่มมีอาการปวดขึ้นมาอีกครั้งแต่จะเป็นไม่มากครับ ต่อจากนั้นก็สามารถใช้ยารับประทาน เพื่อควบคุมอาการปวดได้ครับ 
การรักษาส่วนใหญ่ใช้ระยะเวลาประมาณ 5-6 เดือน ประมาณ 80% ผู้ป่วยอาการดีขึ้นโดยไม่ต้องผ่าตัดครับ แต่มีโอกาสกลับมาเป็นอีกครั้ง เพราะเป็นกระบวนการเสื่อมของร่างกาย การฉีดยาสามารถฉีดซำ้ได้ตามอาการ ยาที่ฉีดเป็นยาสเตียรอยด์ เป็นยาปริมาณตำ่ๆ 20 มิลลิกรัม ซึ่งน้อยมาก ไม่มีอันตรายต่อร่างกาย  เพราะร่างกายของคนเราสามารถรับปริมาณยาสเตียรอยด์ได้ประมาณ 400 มิลลิกรัมต่อปี ที่ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงต่อระบบไร้ท่อของร่างกายครับ จำนวนครั้งของการฉีดยาจะได้ผลหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรคที่เป็น การกดทับของเส้นประสาทมากหรือน้อยเพียงใด ถ้ากดมากๆๆ การฉีดยาอาจจะไม่ได้ผลดี ส่วนใหญ่จะแนะนำให้รักษาด้วยวิธีการไม่ผ่าตัดก่อน ถ้ารักษาไปแล้วประมาณ 5-6 เดือน อาการไม่ดีขึ้นเลย หรือมีอาการปัสสาวะลำบาก ก็อาจจะพิจารณาให้การรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อเอาส่วนที่มีการกดทับเส้นประสาทออก 
ส่วนใหญ่หลังฉีดอาการมักจะดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ ถ้าไม่ดีขึ้นแสดงว่าน่าจะมีหมอนรองกระดูกขนาดใหญ่มากดทับเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทบวมมาก ถ้าไม่ดีขึ้นจริงๆ อาจจะต้องตรวจ MRIเพิ่มเติม เพื่อดูว่าหมอนรองกดมากหรือเปล่า และอาจจะลองฉีดยาซำ้อีก 3-4 ครั้งร่วมกับการปรับยารับประทาน นอกจากนี้ยังมียาลดการอักเสบอื่นที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ก้สามารถฉีดเพื่อลดการอักเสบได้ บรรเทาอาการปวดได้ดี 
การฉีดยาสามารถฉีดซ้ำได้เรื่อยๆครับ ยาที่ฉีดมีทั้งที่เป็นสเตียรอยด์และไม่ใช่สเตียรอยด์ครับ การฉีดนั้นขึ้นกับเทคนิกการฉีด ไม่ได้มีปัญหาหรืออันตรายต่อร่างกายมากครับ ปกติถ้าฉีดยามากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป ผมจะใช้ยาฉีดลดการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เพื่อลดการอักเสบและอาการปวด ลดความกังวลของคนไข้ที่ต้องใช้ยา ซึ่งผลการระงับปวดได้ผลดีไม่ต่างจากสเตียรอยด์ครับ


ถ้าไม่ดีขึ้นจริงๆถึงจะพิจารณารักษาดวยการผ่าตัดครับ

วิธีการนี้เหมาะสมเป็นอย่างมากสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ต้องการรักษาด้วยการผ่าตัดกระดูกสันหลังหรือมีความเสี่ยงสูงจากการผ่าตัดตัวอย่างเช่นในผู้ป่วยสูงอายุที่มีปัญหาเรื่องของโรคช่องทางเดินของโพรงประสาทตีบตัน (spinal stenosis) อัน เนื่องมาจากกระบวนการเสื่อมของกระดูกสันหลังซึ่งจะทำให้ช่องทางเดินประสาท ตีบตันมีผลทำให้เกิดการอักเสบของเส้นประสาทที่อยู่ภายในโพรงของกระดูกสัน หลังทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวด ชา ปวดร้าวลงขาการรักษาด้วยวิธีการยาสเตียรอด์ชนิดฉีดเฉพาะที่เข้าไปในโพรง ประสาทจะช่วยลดการอักเสบ และลดการบวมของเส้นประสาทรวมทั้งลดความดันที่เกิดขึ้นต่อเส้นประสาทจะทำให้ บรรเทาอาการปวดและอาการชาแก่ผู้ป่วยลงได้
นอกจาก นี้ยังใช้ได้ผลดีในกรณีที่ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดแล้วยังมี อาการปวดหลังและอาการปวดชาร้าวลงขาซึ่งพยาธิสภาพที่เกิดหลังผ่าตัดคือการมี พังผืดไปกดรัดเส้นประสาทหลังจากการผ่าตัดทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังร่วมกับ อาการปวดร้าวลงขาอยู่การ ฉีดยาสเตียรอด์ชนิดฉีดเฉพาะที่จะเป็นการช่วยแยกสลายพังผืดที่กดรัดรอบๆเส้น ประสาท และลดการอักเสบของเส้นประสาทและเนื้อเยื่ออ่อนที่อยู่รอบๆทำให้ช่วยลดอาการ ปวดให้แก่ผู้ป่วยอีกทางหนึ่งด้วย
4.การทำกายบริหารและการยืดกล้ามเนื้อจะช่วยทำให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นเพิ่ม มากขึ้นอาการปวดหลังเป็นปัญหาที่สำคัญดังนั้นการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ทั้งในเรื่องของการนั่งทำงานที่ไม่ถูกต้อง การยกของที่ไม่ถูกวิธีการรักษาด้วยการใช้ยารับประทานในผู้สูงอายุควรระวัง การใช้ยาในกลุ่มต้านการอักเสบเพื่อลดอาการปวด เพราะจะทำให้มีผลต่อกระเพาะอาหารทำให้ปวดท้องและบางครั้งอาจทำให้เลือดออกใน กระเพาะอาหารได้การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาทโดยการใช้คลื่นเสียง ความถี่สูงบอกตำแหน่งนับว่าเป็นทางเลือกหนึ่งของการรักษาแบบประคับประคอง เพื่อหลีกเลี่ยงการผ่าตัดที่ไม่จำเป็น

         แนวทาง ในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังเรื้อรังอาการปวดหลังร้าวลงขาอาการชาที่ มีประโยชน์อย่างหนึ่งโดยไม่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดคือการฉีดยาสเตียรอด์ชนิด ฉีดเฉพาะที่เข้าไปยังช่องว่างของเส้นประสาทบริเวณโพรงกระดูกสันหลังการฉีดยา จะมีประโยชน์อย่างมากในการลดการอักเสบและการบวมของเส้นประสาทการรักษาด้วย การฉีดยานี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือการควบคุมบรรเทาอาการปวดหลังและปวดขา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาแบบประคับประคองเพื่อลดอุบัติการณ์การผ่าตัด ให้แก่ผู้ป่วย

การพยากรณ์โรคและคำถามสำหรับการฉีดยา

หลังจากฉีดยาแล้วส่วนใหญ่อาการปวดจะบรรเทาลงในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังฉีดยา หลังจากนั้นอาจจะเริ่มมีอาการปวดขึ้นมาอีกครั้งแต่จะเป็นไม่มากเหมือนกับที่ปวดในช่วงแรก  ต่อจากนั้นก็สามารถใช้ยารับประทาน เพื่อควบคุมอาการปวดได้

ความถี่ในการฉีดยาและผลข้างเคียงนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณของยาสเตียรอยด์ที่ใช้ รวมถึงความเชี่ยวชาญของแพทย์ผู้ทำการรักษา ซึ่งโดยปกติแล้วปริมาณยาที่ผมใช้มีปริมาณประมาณ 10 - 20 มิลลิกรัมของยาสเตียรอยด์ ซึ่งถือว่าน้อยมาก เพราะร่างกายของคนเราสามารถรบปริมาณยาสเตียรอยด์ได้ประมาณ 400 มิลลิกรัมต่อปี ที่ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงต่อระบบไร้ท่อของร่างกายครับ เทียบกับในอดีตที่มีการฉีดยาในปริมาณที่สูง ซึ่งจากผลของงานวิจัยที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่พบว่าปริมาณยาที่น้อยได้ผลดีเทียบเท่ากับการใช้ยาในปริมาณที่มาก ดังนั้นสำหรับผมเองการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาทในปัจจุบันจะใช้ยาปริมาณเพียงเล็กน้อย ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อระบบต่อมไร้ท่อของร่างกายให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จึงสามารถฉีดยาได้บ่อยและถี่ขึ้นตามอาการของผู้ป่วย
  
ส่วนใหญ่หลังฉีดอาการมักจะดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ ถ้าไม่ดีขึ้นแสดงว่าน่าจะมีหมอนรองกระดูกขนาดใหญ่มากดทับเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทบวมมาก ถ้าไม่ดีขึ้นจริงๆ อาจจะต้องตรวจ MRIเพิ่มเติม เพื่อดูว่าหมอนรองกดมากหรือเปล่า และอาจจะลองฉีดยาซำ้อีก 5-6 ครั้งร่วมกับการปรับยารับประทาน ถ้าไม่ดีขึ้นจริงๆถึงจะพิจารณารักษาดวยการผ่าตัดครับ

การรักษาปวดหลัง โดยไม่ผ่าตัด ส่วนใหญ่ใช้ระยะเวลาประมาณ 5-6 เดือน ประมาณ 80% ผู้ป่วยอาการดีขึ้นโดยไม่ต้องผ่าตัดครับ แต่มีโอกาสกลับมาเป็นอีกครั้ง เพราะเป็นกระบวนการเสื่อมของร่างกาย การฉีดยาสามารถฉีดซำ้ได้ตามอาการ ยาที่ฉีดเป็นยาสเตียรอยด์ เป็นยาปริมาณตำ่ๆ ไม่มีอันตรายต่อร่างกาย จำนวนครั้งของการฉีดยาจะได้ผลหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรคที่เป็น การกดทับของเส้นประสาทมากหรือน้อยเพียงใด ถ้ากดมากๆๆ การฉีดยาอาจจะไม่ได้ผลดี ส่วนใหญ่จะแนะนำให้รักษาด้วยวิธีการไม่ผ่าตัดก่อน ถ้ารักษาไปแล้วประมาณ 5-6 เดือนถึง 1 ปี อาการไม่ดีขึ้นเลย หรือมีอาการปัสสาวะลำบาก ก็อาจจะพิจารณาให้การรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อเอาส่วนที่มีการกดทับเส้นประสาทออก

การรักษาได้ผลมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ
1. โรคที่เป็น ว่ามีการกดทับเส้นประสาทมากน้อยเพียงใด ถ้ากดมาก หรือมีพังผืดไปรัดมากก็ไม่ค่อยได้ผลครับ ถ้าเป็นน้อยก็ได้ผลดี
2. พฤติกรรมการปฏิบัติตัว ปวดหลัง ป้องกันได้โดยปรับพฤติกรรม http://www.taninnit.com/general-knowledge-menu/back-neck-km/113-backpain-change.html
3. นำ้หนักของผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยมีนำ้หนักมากก็จะทำให้มีผลต่อการเกิดแรงกดที่กระดูกข้อต่อสันหลังเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีอาการปวดและรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงควรลดนำ้หนัก และปฏิบัติตนให้ถูกต้องเพื่อป้องกันการเกิดโรคกระดูกและข้อ (http://www.taninnit.com/general-knowledge-menu/general-km/176-bone-disease-suggest.html)

หลังจากฉีดยาแล้วส่วนใหญ่อาการปวดจะบรรเทาลงในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังฉีดยา หลังจากนั้นอาจจะเริ่มมีอาการปวดขึ้นมาอีกครั้งแต่จะเป็นไม่มากครับ ต่อจากนั้นก็สามารถใช้ยารับประทาน เพื่อควบคุมอาการปวดได้ครับ 
  


  
รูปภาพแสดงการฉีดยาชาร่วมกับสตียรอยด์ชนิดฉีดเฉพาะที่เข้าไปในบริเวณโพรงประสาท
บริเวณกระเบนเหน็บเพื่อลดการอักเสบของเส้นประสาท ร่วมกับช่วยสลายพังผืดที่โอบรัดเส้นประสาท
 

ภาพแสดงการใช้เครื่องเสียงความถี่สูง Ultrasound มาช่วยในการกำหนดตำแหน่งที่ใช้ในการฉีดยา
ร่วมกับการยืนยันว่าปลายเข็มอยู่ภายในตำแหน่งที่ถูกต้องเพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดจากการฉีดยา
 




การใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเป็นตัวนำเพื่อระบุตำแหน่งของการฉีดยา ให้ผลการรักษาและการได้ยาที่แม่นยำ




จากงานประชุมวิชาการประจำปีของราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ ปี2558 ที่ รร.โรยัลคลิฟฟ์ พัทยา งานวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาทเพื่อรักษาอาการปวดหลังโดยใช้เครื่องเสียงความถี่สูงกำหนดตำแหน่งในการฉีดยา  นำการเสนอผลงานวิจัยโดย นพ.วิทิต โพธิ์ทอง ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์ ทำการศึกษาที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับรางวัล best podium research award 

ซึ่งจากงานวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของยาสเตียรอยด์ 20 มิลลิกรัมให้ผลในการรักษาอาการปวดหลังเทียบเท่ากับยาขนาด 40 มิลลิกรัม ดังนั้นการฉีดยาเข้าโพรงประสาทเพื่อระงับอาการปวดหลัง หรือปวดร้าวลงขา ทำให้มั่นใจได้ว่ามีประสิทธิภาพการรักษาให้ผลดี และลดการใช้ยาลง ทำให้มีความปลอดภัยต่อผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับการรักษาอาการปวดหลังโดยไม่ผ่าตัดด้วยการฉีดยาเข้าโพรงประสาทได้ที่ http://taninnit-backpain.blogspot.com/
_________________________________________________


เชิญเพิ่มเพื่อนทาง line จาก หมอเก่ง กระดูกและข้อ
เพื่อรับข้อมูลข่าวสารสุขภาพกระดูกและข้อครับ
line id search @doctorkeng กรุณากดลิงค์ http://line.me/ti/p/%40vjn2149j 
หรือที่ QR code
แล้วกด add นะครับ

อ่านความรู้โรคกระดูกและข้อเพิ่มเติมได้ที่ 

โทร 081-5303666
หมอเก่ง : ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์ (Taninnit Leerapun, MD, MS, MBA)
ภาควิชาออร์โทปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สันป่าข่อยคลินิก   ติดกับโรงไม้อบทวีพรรณ
271 ถนนเจริญเมือง  ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่
เวลาทำการ
           จันทร์ ถึงศุกร์ 17-19.00 , เสาร์ อาทิตย์ 9-12.00
ที่อยู่ใน www.taninnit.com

วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ปวดหลัง สัญญาณอันตรายที่ต้องพบแพทย์

ปวดหลัง สัญญาณอันตรายที่ต้องพบแพทย์

โรคปวดหลังนับว่าเป็นปัญหาสำคัญและพบบ่อยที่สุดอย่างหนึ่งของโรคกระดูกและข้อ และนับวันยิ่งจะพบเพิ่มมากขึ้นในทุกเพศ ทุกวัยอันเนื่องมาจากลักษณะของกิจวัตรประจำวัน การปฏิบัติตนที่ไม่ถูกต้อง รวมทั้งในปัจจุบันประชากรในประเทศที่มีอายุยืนยาวเพิ่มมากขึ้นอาการปวดหลังส่วนใหญ่มักเกิดจากมีการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นกระบวนการเสื่อมตามธรรมชาติ มีการอักเสบของกระดูกข้อต่อบริเวณกระดูกสันหลัง มีกระดูกงอกซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งของการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังและเกิดการกดทับเส้นประสาททำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังร่วม อาการปวดร้าวลงขาบริเวณน่อง  ร่วมกับมีอาการชาที่บริเวณขาและปลายเท้า โดยทั่วไปแล้วสาเหตุหลักๆของโรคปวดหลังส่วนใหญ่มักเกิดเนื่องมาจากการการอักเสบของกล้ามเนื้อ ซึ่งส่วนใหญ่สามารถหายได้โดยใช้ระยะเวลาไม่นานมากนัก แต่ถ้ามีอาการปวดหลังร่วมกับกลุ่มอาการบางอย่างที่สำคัญดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นสัญญาณเตือนที่สำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังจำเป็นต้องพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัย และให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป กลุ่มอาการดังกล่าวได้แก่
1.    ไข้   ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดหลังที่รุนแรง ร่วมกับอาการไข้ สาเหตุส่วนใหญ่อาจเกิดเนื่องมาจากการติดเชื้อในร่างกาย บางครั้งอาจจะมีการติดเชื้อที่บริเวณกระดูกสันหลัง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของภาวะการติดเชื้อของกระดูกสันหลังนั้นอาจจะมีการติดเชื้อในบริเวณอื่นของร่างกายก่อน เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะอักเสบโดยเฉพาะในเพศหญิงวัยหลังหมดประจำเดือนไปแล้ว ทำให้มีการแพร่กระจายของเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด และเกิดการติดเชื้อที่บริเวณกระดูกสันหลัง มีการทำลายกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อนในบริเวณรอบๆ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังอย่างรุนแรงร่วมกับอาการไข้ สาเหตุของเชื้อที่พบส่วนใหญ่มักเป็นเชื้อแบคทีเรีย และในบางครั้งอาจจะพบมีการติดเชื้อวัณโรคของกระดูกสันหลังได้เช่นเดียวกัน
2.    มีประวัติเคยเป็นโรคมะเร็งมาก่อน ในผู้ป่วยที่เคยเป็นมะเร็งมาก่อน มีโอกาสเกิดการแพร่กระจายของมะเร็งมาที่บริเวณกระดูกสันหลังได้ มะเร็งที่มักจะแพร่กระจายมาที่บริเวณกระดูกสันหลังได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด มะเร็งในระบบทางเดินอาหาร มะเร็งต่อมไทรอยด์ เมื่อมีการแพร่กระจายของมะเร็งมาตามกระแสเลือดและมาที่บริเวณกระดูกสันหลังจะกระตุ้นให้เกิดการทำลายกระดูกเป็นอย่างมาก ทำให้โครงสร้างกระดูกปกติถูกทำลายลง เกิดกระดูกสันหลังยุบตัวลง ก่อให้เกิดอาการปวดหลังมาก ในบางครั้งถ้ามะเร็งแพร่กระจายไปกดทับเส้นประสาท และไขสันหลังก็จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการชา อาการอ่อนแรงของขา ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ รวมทั้งอาจจะไม่สามารถกลั้นอุจจาระ และกลั้นปัสสาวะได้ ทำให้เป็นอัมพาต
3.    ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ หรือมีปัสสาวะเล็ด ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังร่วมกับอาการที่ไม่สามารถควบคุมการกลั้นปัสสาวะและอุจจาระได้นั้นสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากมีการกดทับเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของลำไส้ และกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งสาเหตุของการกดทับเส้นประสาทมีได้หลายสาเหตุเช่น หมอนรองกระดูกที่มีขนาดใหญ่มากเคลื่อนออกมากดทับเส้นประสาท โรคมะเร็งแพร่กระจายมาที่กระดูกและมีการกดทับเส้นประสาทหรือไขสันหลัง รวมทั้งภาวะของการติดเชื้อของกระดูกสันหลังที่อาจจะมีหนองไปกดทับเส้นประสาท ทำให้ระบบการขับถ่ายผิดปกติ
4.    มีอาการอ่อนแรงของขา หรือสูญเสียสมดุลของร่างกาย เช่นเดียวกัน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดเนื่องมาจากการที่เส้นประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของอวัยวะนั้นๆ ถูกกดทับ ทำให้ไม่สามารถควบคุมการทำงานการเคลื่อนไหวของระยางค์นั้นๆได้
5.    มีอาการปวดตอนกลางคืนหรือปวดขณะพัก อาจจะมีหรือไม่มีเหงื่อออกตอนกลางคืน ซึ่งเป็นสัญญาณอย่างหนึ่งของภาวะการติดเชื้อของกระดูกสันหลัง หรือมะเร็งที่แพร่กระจายมาที่กระดูกส่งผลทำให้มีอาการปวดมากแม้ขณะที่นอนพักอยู่
6.    อาการชารอบๆทวารหนัก หรือสูญเสียความรู้สึกรอบๆทวารหนัก เกิดเนื่องมาจากมีการกดทับของเส้นประสาทที่ควบคุม และรับความรู้สึกในบริเวณรอบๆทวารหนัก 
7.    มีการใช้ยาสเตียรอยด์เป็นระยะเวลานาน ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ที่ได้รับการรักษาโดยการใช้ยาสเตียรอยด์เป็นประจำ เช่น ในกลุ่มผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเอสแอลอี(โรคพุ่มพวง) หรือผู้ป่วยที่ชอบซื้อยา สเตียรอยด์รับประทานเองโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน เกิดการติดเชื้อในร่างกายได้ง่ายกว่าคนปกติเพราะภูมิต้านทานของร่างกายอ่อนแอ ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีโอกาสเกิดกระดูกสันหลังยุบจากโรคกระดูกพรุน และมีโอกาสเกิดการติดเชื้อได้ง่ายยิ่งขึ้น
8.    ได้รับอุบัติเหตุ ในผู้ป่วยที่มีประวัติได้รับอุบัติเหตุอย่างรุนแรง ร่วมกับมีอาการปวดหลังแบบเฉียบพลันนั้นอาจจะทำให้เกิดกระดูกสันหลังหัก ยุบ ทำให้มีอาการปวดหลังเป็นอย่างมาก
9.    น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ  ร่วมกับมีอาการปวดหลังให้ควรระวังเพราะอาจจะมีสาเหตุที่เกิดจากภาวะมะเร็งแพร่กระจายมาที่กระดูก การติดเชื้อของกระดูกสันหลัง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเบื่ออาหาร ไม่สามารถรับประทานอาหารได้อย่างเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายและน้ำหนักลด
ดังนั้นในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังร่วมกับอาการดังกล่าวข้างต้นควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุ และให้การรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป การวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องตั้งแต่แรกจะทำให้การพยากรณ์โรคดี สามารถรักษาให้หายได้ ถ้าปล่อยให้เกิดอาการปวดหลังนานๆ และได้รับการรักษาที่ไม่เหมาะสม จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวด และถ้ามีอาการปวดเป็นระยะเวลานานจะทำให้ระบบการรับความรู้สึกผิดปกติไป รักษาอาการปวดได้ยากมากยิ่งขึ้น และเกิดโรคซึมเศร้ากับผู้ป่วยได้
10.    ปวดหลังร่วมกับส่วนสูงที่ลดลง อาจเกิดเนื่องมาจากการที่มีโรคกระดูกพรุนร่วมกับการเกิดกระดูกสันหลังยุบตัวลง ทำให้เกิดหลังโก่งค่อม และส่วนสูงลดลง จึงทำให้เกิดมีอาการปวดมาก ส่วนใหญ่มักจะเกิดในผู้สูงอายุ
ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์  ภาควิชาออร์โทปิดิกส์  คณะแพทยศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
tleerapun@gmail.com ,  www.taninnit.com ,
Facebook: Dr.Keng หมอเก่งhttps://www.facebook.com/Doctorkeng,
 line ID search : keng3407


ภาพแสดงกระดูกสันหลังยุบเนื่องจากโรคกระดูกพรุน



ภาพแสดงการกดทับไขสันหลังจากเนื้องอกภายในโพรงประสาท



วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ปวดหลัง ป้องกันได้โดยปรับพฤติกรรม

ปวดหลัง ป้องกันได้โดยปรับพฤติกรรม

ปัญหาเรื่องอาการปวดหลังนับว่าเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยที่สุดอย่างหนึ่งในปัจจุบัน อย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิตของทุกท่านคงเคยมีปัญหาเรื่องอาการปวดหลัง สาเหตุส่วนใหญ่เกิดเนื่องมาจากกระบวนการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังและบริเวณข้อต่อของกระดูกสันหลัง ในวัยหนุ่มสาวหมอนรองกระดูกทำหน้าที่ในการลดแรงกระแทกระหว่างกระดูกสันหลังในแต่ละระดับ เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น หมอนรองกระดูกจะเกิดการเสื่อม ปริมาณน้ำที่อยู่ภายในหมอนรองกระดูกจะลดปริมาณลง ทำให้ความยืดหยุ่นและการทำงานของหมอนรองกระดูกไม่ดี ร่วมกับการเสื่อมของข้อต่อกระดูกสันหลัง  ปัจจัยในเรื่องของน้ำหนักร่างกายก็มีผลเป็นอย่างมาก ในคนที่มีน้ำหนักมากจะทำให้ข้อต่อกระดูกสันหลัง และหมอนรองกระดูกสันหลังรับน้ำหนักมากกว่าปกติจึงมีผลทำให้อุบัติการณ์ในการปวดหลังเพิ่มมากขึ้นในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมาก
    นอกจากนี้เรื่องของพฤติกรรมต่างๆของคนไทยทั้งในเรื่องของการนั่ง การนอน การทำงาน ก็จะมีผลโดยตรงกับอาการปวดหลัง วันนี้ผมก็อยากแนะนำวิธีการบางประการในการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดหลัง  พฤติกรรมที่ควรปฏิบัติสำหรับผู้ที่มีอาการปวดหลัง และป้องกันอาการปวดหลังได้แก่

•    การนั่ง

    ไม่ควรนั่งกับพื้น  ทั้งในท่านั่งขัดสมาธิ คุกเข่า พับเพียบ เพราะการนั่งกับพื้นจะทำให้น้ำหนักส่วนใหญ่ไปลงที่กระดูกสันหลังบริเวณบั้นเอว ทำให้กระดูกหลังรับน้ำหนักมากและทำให้ปวดหลังเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้การนั่งกับพื้นในท่าคุกเข่า ขัดสมาธิ พับเพียบ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
    หลีกเลี่ยงการนั่งเก้าอี้ต่ำ เพราะการนั่งเก้าอี้ต่ำๆ มีลักษณะคล้ายกับการนั่งพื้น จะทำให้มีอาการปวดมากขึ้น เช่นการนั่งซักผ้าเป็นระยะเวลานาน  การนั่งทอผ้า  การนั่งปลูกดอกไม้ ทำสวนเป็นระยะเวลานาน จะมีผลทำให้เกิดอาการปวดหลังเพิ่มมากขึ้น 
    ควรนั่งเก้าอี้ที่มีพนักพิงอย่างถูกวิธี
    ควรนั่งให้ชิดขอบในของเก้าอี้โดยหลังไม่โก่งและให้หลังชิดพนักพิง ระดับความสูงของเก้าอี้นั่งให้เท้าแตะพื้น รองรับก้นละโคนขาได้ทั้งหมด
    ในกรณีที่ต้องนั่งทำงานเป็นเวลานานไม่ควรนั่งเก้าอี้ที่ไม่มีพนักพิงหลัง เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อหลังทำงานหดเกร็งอยู่ตลอดเวลาเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของอาการปวดหลัง

•    การยกของ

    อย่าก้มลงยกของเพราะกล้ามเนื้อหลังจะเป็นส่วนออกแรง ทำให้เกิดอาการอักเสบ ฉีดขาดได้
    ควรย่อเข่าลงนั่ง ยกของให้ชิดตัว แล้วลุกด้วยกำลังขา

•    การทำงานกับจอคอมพิวเตอร์

    การนั่งหลังโก่ง นั่งบิดๆ นั่งก้มมองจอคอมพิวเตอร์ การนั่งแบบที่กล่าวมาเป็นการเพิ่มแรงกระทำต่อ กระดูกหลังมากที่สุด และการนั่งนานๆบวกกับความตึงเครียดทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหลังเกิดการเกร็งจะยิ่งทำให้ปวดหลังมากขึ้น
วิธีการนั่งใช้งานคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้อง
    ต้องนั่งหลังตรง เพื่อลดอาการตึงที่ช่วงหลัง
    วางเท้าให้ให้ราบไปกับพื้นทั้ง 2 ข้าง ถ้านั่งไขว่ห้างหรือวางขาไว้ข้างเดียวก็จะส่งผลในเรื่องความดันที่ส่งลงไปที่ขา ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก
    ปรับระดับหน้าจอให้อยู่ตรงหน้าพอดี ให้สายตามองตรงไปด้านหน้า ไม่เงย ไม่ก้ม จะช่วยลดอาการตึงหรือเมื่อยล้าบริเวณกล้ามเนื้อช่วงคอ,ไหล่ได้
    แขน ช่วงที่ใช้งานพิมพ์คีย์บอร์ด ให้เก็บศอกใกล้ตัว เพื่อช่วยผ่อนคลายหัวไหล่และแขน ลดอาการตึงและเมื่อยล้าจากงานได้
    ควรลุกเปลี่ยนอิริยาบถ ยืดเส้นยืดสายทุกๆ 30-45 นาที

•    น้ำหนัก

    น้ำหนักตัวมากเกินทำให้มีอาการปวดหลังได้ เนื่องจากจะทำให้ข้อต่อของกระดูกสันหลัง และหมอนรองกระดูกสันหลังรับน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นมีผลทำให้เกิดการเสื่อม และการอักเสบเพิ่มมากขึ้น วิธีการในการลดน้ำหนักได้แก่
    การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ วิธีการที่ดีที่สุดคือการใช้เครื่องออกกำลังกายเดินวงรี  ข้อดีของเครื่องคือลดแรงกระแทกที่กระทำกับบริเวณข้อเข่า เนื่องจากเป็นการเคลื่อนไหวของขา โดยที่เท้าวางชิดกับแผ่นรองทำให้ลดแรงกระแทกที่กระทำกับข้อเข่า
    เรื่องของการรับประทานอาหาร ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภท
o    แป้งโดยเฉพาะอาหารประเภท ข้าวเหนียว ขนมปัง ข้าวจ้าว ควรรับประทานในปริมาณที่ไม่มาก หรือควรหลีกเลี่ยง
o    อาหารประเภททอด และที่มีกะทิเช่น ข้างเหนียวทุเรียน หรือรับประทานในปริมาณที่ไม่มาก
o    ควรหลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีรสหวานมากๆ เพราะน้ำตาลที่อยู่ในผลไม้จะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ โดยเฉพาะผลไม้ที่เป็นสีเหลืองเช่นทุเรียน  มะม่วง ขนุน สับปะรด  รวมทั้งองุ่น  ควรรับประทานผลไม้เช่น มะละกอ ฝรั่ง ชมพู่
    ควรรับประทานผัก หรือในบางครั้งก็อาจจะรับประทานผลไม้และผัก ก่อนรับประทานอาหารหลัก จะช่วยทำให้เรารู้สึกอิ่มไวกว่าปกติ

•    ท่านอน

    ห้ามนอนคว่ำ เพราะจะทำให้กระดูกสันหลังแอ่นมากที่สุด โดยเฉพาะระดับเอวทำให้ปวดหลังได้
    ควรนอนตะแคงโดยให้ขาล่างเหยียดตรง เข่างอ ตะโพกและเข่ากอดหมอนข้างไว้
    ควรเลือกที่นอนแบบแน่นยุบตัวน้อย ไม่ควรใช้ฟูก ฟองน้ำหรือเตียงสปริง เพราะหลังจะจมอยู่ในแอ่งทำให้กระดูกสันหลังแอ่น จนทำให้เกิดอาการปวดหลังได้
    สำหรับท่านที่ชอบไปนวด ไม่ควรนอนคว่ำแล้วให้นวดหลังเพราะจะทำให้หลังแอ่นและมีอาการปวดเพิ่มมากยิ่งขึ้น

•    การใช้รองเท้าส้นสูง

    การยืนส้นสูงแบบเขย่งเท้าตลอดเวลาจะทำให้หลังแอ่นมากขึ้น น้ำหนักของร่างกายกระจายตัวผิดปกติ กล้ามเนื้อหลังเกร็งทำงานมากขึ้น ทำให้เกิดอาการปวดหลัง ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้รองเท้าส้นสูง

•    การงดสูบบุหรี่

    สารนิโคตินในบุหรี่มีผลทำให้หมอนรองกระดูกขาดออกซิเจน เกิดกระบวนการเสื่อมเร็วมากกว่าปกติและยุบตัวเพิ่มมากขึ้น ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงในการเกิดอาการปวดหลังมากกว่าคนทั่วไป

ควรหลีกเลี่ยงการก้มตัวทำงาน เพราะจะทำให้กระดูกสันหลังบริเวณส่วนเอวรับน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น และมีอาการปวดโดยเฉพาะท่านผู้สูงอายุเช่น ท่าก้มลงทำสวน ปลูกต้นไม้ และโดยเฉพาะท่านที่มีอายุมากและเป็นโรคกระดูกพรุนร่วมด้วยควรต้องหลีกเลี่ยงการก้มตัวให้มากๆ เพราะในโรคกระดูกพรุนจะมีกระดูกที่บางตัวลง การก้มมากๆอาจจะทำให้เกิดการยุบตัวของกระดูกสันหลังลงได้

อาการปวดหลังสามารถป้องกันและหลีกเลี่ยงได้ ถ้าหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่มีความเสี่ยง การลดน้ำหนัก การออกกำลังที่ถูกวิธีอย่างสม่ำเสมอ ก็จะทำให้ห่างไกลจากโรคปวดหลัง ชีวิตมีความสุขครับ







ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์
ภาควิชาออร์โทปิดิกส์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
www.taninnit.com
Line : ID search : keng3407
Facebook:
     Taninnit Leerapun   http://www.facebook.com/taninnit
     Dr.Keng หมอเก่ง   http://www.facebook.com/Doctorkeng

Email:  tleerapun@gmail.com

วันอังคารที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2557

ปวดต้นคอ หมอนรองกระดูกคอเสื่อม

ปัจจุบันประชาชนมักจะมีอาการปวดบริเวณต้นคอเพิ่มมากขึ้นซึ่งมีสาเหตุจากการพัฒนาเทคโนโลยี การใช้คอมพิวเตอร์ การใช้โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้น ผู้ใช้งานก้มคอใช้อุปกรณ์เหล่านี้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จึงทำให้เกิดปัญหาปวดเมื่อยบริเวณต้นคอและกล้ามเนื้อบริเวณบ่า และสาเหตุอีกอย่างคือประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุทำให้ประชากรมีอายุเพิ่มมากขึ้น เกิดปัญหาของโรคข้อเสื่อมและหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมเพิ่มขึ้น จึงทำให้พบปัญหาอาการปวดคอเพิ่มมากขึ้น  ท่านผู้อ่านคงเคยมีประสบการณ์อาการปวดบริเวณต้นคอบ้าง บางครั้งอาจจะมีอาการปวดต้นคอเวลาตื่นนอนตอนเช้าไม่สามารถหมุนศีรษะได้ มีอาการปวดตั้งแต่บริเวณต้นคอ ท้ายทอยลงบริเวณบ่า  สะบัก ปวดร้าวลงบริเวณหัวไหล่และต้นแขน อาจจะมีอาการชาร้าวลงมือร่วมด้วย  บางครั้งไปนอนสระผมที่ร้านทำผม พอลุกขึ้นมาก็จะรู้สึกมีอาการปวดต้นคอ


สาเหตุของอาการปวดคอ


สามารถแบ่งได้ตามช่วงอายุและอุบัติการณ์ของการเกิดอาการปวดต้นคอซึ่งสามารถเกิดได้ตั้งแต่อายุ20ปีเป็นต้นไป สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการใช้งานไม่ถูกท่า การนั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานานอย่างต่อเนื่อง การก้มใช้งานมือถือ ทำให้ต้องก้มคอตลอดเวลาซึ่งส่งผลทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการเกร็งตัวทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามบริเวณต้นคอและสะบักทั้ง 2 ข้าง  ในบางครั้งที่มีอาการปวดต้นคออย่างรุนแรงอาจจะเกิดเนื่องจากหมอนรองกระดูกต้นคอเคลื่อนออกมากดทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการบวมและอักเสบของเส้นประสาท นอกจากนี้ตัวหมอนรองกระดูกที่เคลื่อนออกมานั้นจะมีสารที่ทำให้เกิดการอักเสบโดยตรงต่อเส้นประสารทจึงทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดคอร้าวลงแขนเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งในบางรายอาจจะมีอาการชา และอ่อนแรงของแขนในข้างที่เส้นประสาทไปกดทับด้วย เมื่ออายุมากขึ้น ส่วนใหญ่ประมาณตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป อาการปวดคอส่วนใหญ่มักเกิดจากกระบวนการเสื่อมของหมอนรองกระดูกและการอักเสบของข้อต่อระหว่างกระดูกสันหลัง บางครั้งหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอมีการเสื่อมและเคลื่อนออกมากดทับเส้นประสาท หรือมีกระดูกงอกจากการเสื่อมของกระดูกข้อต่อสันหลังไปกดทับเส้นประสาท

อาการปวดบริเวณคอ
ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดเมื่อยๆบริเวณกระดูกและกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอ ปวดร้าวลงบริเวณบ่า และสะบัก บริเวณไหล่ และข้อศอก ร่วมกับอาการชาลงไปที่มือ และนิ้ว  อาจจะมีความรู้สึกปวดแปล๊บๆเหมือนไฟฟ้าช็อต วิ่งลงแขน  หันศีรษะลำบาก ไม่สามารถหันได้เหมือนปกติ เวลาจะเหลียวมองด้านข้างต้องหันไปทั้งตัว บางครั้งมีอาการปวดมากจนทำให้ไม่สามารถนอนพักได้ นอนไม่หลับ อาการปวดจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อแหงนศีรษะ หรือก้มนานๆ เนื่องจากน้ำหนักของศีรษะไปกระทำตรงบริเวณข้อต่อระหว่างกระดูกเพิ่มมากก็จะทำให้เกิดการอักเสบและช่องทางเดินประสาทแคบลง เมื่อเส้นประสาทถูกกดทับจะทำให้มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่เลี้ยงโดยรากประสาทนั้นๆ เช่น ไม่มีแรงกำมือ หรือกระดกข้อมือ มีอาการปวดจากท้ายทอยขึ้นไปยังศีรษะ และอาจมีอาการปวดร้าวออกเบ้าตา ซึ่งถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดมาเป็นระยะเวลานานก็ทำให้ผู้ป่วยเกิดความเครียดและกังวล กลัวว่าจะเป็นโรคร้าย เป็นมะเร็ง เป็นอัมพฤกษ์อัมพาต
    ผู้ป่วยอาจจะมีอาการปวดเพิ่มมากขึ้นในช่วงเดินทางนั่งบนรถ หรือนั่งเครื่องบินแล้วเผลอหลับ เวลาตื่นขึ้นมาจะมีอาการปวดต้นคอ สาเหตุอันเนื่องมาจากในขณะที่นอนหลับในท่านั่งนั้นน้ำหนักของศีรษะจะทำให้คอก้มลงมาทางด้านหน้า  ซึ่งเป็นท่าที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน จึงทำให้เกิดอาการเกร็ง ตึงตัวของกล้ามเนื้อรอบๆบริเวณลำคอ ทำให้เกิดการอักเสบของกระดูกข้อต่อ จึงทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อรอบๆที่บริเวณลำคอ บ่า 







การวินิจฉัยโรค
    การวินิจฉัยโรคเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลจากการซักประวัติอาการปวดของผู้ป่วย ร่วมกับการตรวจร่างกายของแพทย์ ซึ่งถ้ามีอาการปวดมากแพทย์อาจส่งตรวจภาพถ่ายเอกซเรย์บริเวณกระดูกต้นคอ ซึ่งมักจะพบว่ามีการเสื่อมของหมอนรองกระดูกต้นคอ สังเกตได้จากความสูงของหมอนรองกระดูกสันหลังมีขนาดลดลง เพราะปกติหมอนรองกระดูกมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นน้ำ และเมื่อเกิดกระบวนการเสื่อมจะทำให้ปริมาณน้ำในหมอนรองกระดูกลดปริมาณลง และในบางครั้งอาจเกิดการเคลื่อนของหมอนรองกระดูกชั้นในออกมากดทับเส้นประสาท นอกจากนี้อาจจะพบลักษณะของกระดูกงอกออกไปกดทับเส้นประสาทร่วมด้วย ในบางกรณีถ้าผู้ป่วยมีอาการเรื้อรัง อาการปวดไม่บรรเทาลงหลังจากการให้การรักษาที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง แพทย์ผู้ทำการรักษาอาจจะพิจารณาส่งผู้ป่วยไปตรวจด้วยภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ซึ่งจะช่วยแสดงรอยโรคได้ชัดเจนมากกว่าภาพถ่ายรังสีธรรมดา









การป้องกันและการรักษา

1.การปรับเปลี่ยนท่าทางและการใช้ชีวิตประจำวัน พยายามหลีกเลี่ยงการนั่งอ่านหนังสือนานๆ การก้มคอใช้โทรศัพท์มือถือ การแหงนศีรษะ เมื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานจำเป็นต้องปรับตำแหน่งของจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา การเปลี่ยนอิริยาบถในขณะทำงานกับจอคอมพิวเตอร์นานๆ แม้กระทั่งการนอนดูโทรทัศน์นานๆก็อาจจะทำให้เกิดอาการปวดคอได้ ดังนั้นควรมีการปรับท่าทางให้เหมาะสมเช่นควรนั่งดูโทรทัศน์มากกว่าการนอน ไม่ก้มคอใช้งานโทรศัพท์มือถืออย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
เมื่ออายุมากขึ้น ควรจะหลีกเลี่ยงกีฬาบางประเภทเพราะอาจจะทำให้มีอาการปวดต้นคอเพิ่มมากขึ้นได้เช่น  แบดมินตัน เพราะมักจะต้องแหงนศีรษะเวลาตีลูก ซึ่งจะทำให้ช่องทางเดินประสาทแคบลงเมื่อแหงนศีรษะ ทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาทเพิ่มมากขึ้น และเกิดการอักเสบของกระดูกสันหลังบริเวณข้อต่อ ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดต้นคอมากควรหลีกเลี่ยงการนอนสระผมที่ร้านทำผม เพราะการนอนสระผมจะมีการแหงนศีรษะมากทำให้ช่องทางเดินประสาทแคบลง และทำให้กระดูกข้อต่อเกิดการอักเสบ จึงทำให้เกิดอาการปวดเพิ่มมากขึ้นได้  และไม่ควรแหงนศีรษะเป็นระยะเวลานานเพราะจะทำให้กระดูกข้อต่อสันหลังบริเวณคอเกิดการอักเสบ ทำให้เกิดอาการปวดและเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
2. การทำกายภาพบำบัด ด้วยการดึงคอ เป็นการใช้แรงดึงกระทำต่อร่างกายและกระดูกสันหลังส่วนคอ ช่วยทำให้ช่องระหว่างกระดูกสันหลังส่วนบริเวณคอกว้างขึ้น ลดการกดทับเส้นประสาท ช่วยในการยืดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังมีการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงช่วยในการบำบัดรักษา คลื่นเหนือเสียงที่มีความถี่ 20,000 รอบต่อนาที ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดความร้อนลึกเฉพาะที่ ส่งผลในการช่วยลดอักเสบ อาการปวด เพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อ ช่วยทำให้อาการของผู้ป่วยทุเลาลง
3. การรับประทานยาลดปวด ยาลดการอักเสบ ซึ่งยาจะออกฤทธิ์ในการลดปวดตามส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งยาแต่ละชนิดก็ออกฤทธิ์แตกต่างกัน ก็ช่วยทำให้อาการปวด อาการชาทุเลาลงได้ ข้อควรระวังในการใช้ยาลดการอักเสบคือต้องรับประทานยาหลังอาหารทันทีเพราะอาจจะมีผลทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร และไม่ควรรับประทานต่อเนื่องนานเกิน 1 เดือน
4. การฉีดยาชาระงับปวดเข้าไประหว่างชั้นกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นที่อยู่ของเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อที่มีอาการเกร็งตัว เพื่อลดการนำสื่อประสาท จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อตรงบริเวณคอ และบริเวณบ่าและกล้ามเนื้อรอบๆสะบัก คลายตัวลง ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ จะช่วยลดอาการปวดได้ดีมากโดยเฉพาะในช่วงระยะ 2 สัปดาห์หลังการฉีด
หลังจากฉีดยา อาการปวดจะทุเลาลงเป็นอันดับแรก ต่อมาอาการชาตามแขนและมือจะค่อยๆดีขึ้นตามลำดับ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะกังวลกลัวว่าจะเกิดโรคอัมพฤกษ์อัมพาต จากอาการชา เนื่องจากโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาท ซึ่งถ้าแพทย์ซักประวัติ ตรวจร่างกายอย่างละเอียดและให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม ก็จะช่วยทำให้ผู้ป่วยคลายความกังวลลงไปได้  โดยทั่วไปอาการปวด ปวดชาร้าวลงแขนจะค่อยๆดีขึ้น ใช้ระยะเวลาประมาณ  3 – 4 เดือน ผู้ป่วยมากกว่าร้อยละ 90 สามารถให้การรักษาด้วยวิธีการข้างต้นได้ผลเป็นอย่างดี โดยไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด สำหรับข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดกระดูกสันหลังบริเวณคอจะทำในกรณีที่ มีการกดทับของเส้นประสาทและไขสันหลัง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเกร็ง ตัวแข็งเดินเกร็ง  ก้าวเดินลำบาก มีอาการอ่อนแรงของแขน และขา  อุจจาระและปัสสาวะลำบากไม่สามารถควบคุมได้จึงจำเป็นต้องผ่าตัด  ถ้าผู้ป่วยมีแค่เพียงอาการปวดต้นคอ ปวดร้าวลงแขนและมือ หรือมีอาการชาร่วมด้วย เราสามารถให้การรักษาด้วยวิธีการข้างต้นได้ผลเป็นอย่างดี โดยไม่มีความจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
การเกิดกระดูกคอเสื่อมและการเกิดกระดูกงอกที่บริเวณข้อต่อระหว่างกระดูกนั้นเกิดจากกระบวนการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง จึงทำให้เกิดกระดูกงอกและบางครั้งทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาท ผู้ป่วยบางท่านมีความกังวลใจว่าการรับประทานแคลเซียมวันละ 1 เม็ดนั้นหรือการรับประทานแคลเซียมมาเป็นระยะเวลานานมีผลทำให้เกิดภาวะกระดูกงอกหรือไม่ การรับประทานแคลเซียมวันละ 1 เม็ดในปริมาณประมาณ 600 มิลลิกรัมนั้น ไม่มีผลทำให้เกิดกระดูกงอกอันใดเลยเพราะสาเหตุของการเกิดกระดูกงอกตามส่วนต่างๆของข้อและกระดูกนั้นเกิดจากกระบวนการเสื่อมของร่างกาย ไม่เกี่ยวกับการรับประทานแคลเซียม


การดึงคอเพื่อลดอาการปวด 



การนวดด้วยเครื่อง ultrasound 


การฉีดยาชาโดยใช้ ultrasound เป็นตัวนำระหว่างชั้นกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดได้ดีมาก









ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์  ภาควิชาออร์โทปิดิกส์  คณะแพทยศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
tleerapun@gmail.com ,  www.taninnit.com ,
Facebook: Dr.Keng หมอเก่ง(https://www.facebook.com/Doctorkeng)
 line ID search : keng3407

วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

อาการปวดหลัง และโรคกระดูกพรุน

กรณีศึกษาน่าสนใจในผู้สูงอายุที่มาพบแพทย์ด้วยอาการปวดหลัง

เพื่อ ความเข้าใจของคนทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องโรคกระดูกพรุน ผมอยากจะอธิบายให้ฟังดังรายละเอียดดังนี้ครับ ปัญหาโรคกระดูกพรุนคือ ภาวะที่ผู้ป่วยมีปริมาณความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง โครงสร้างภายในของกระดูกมีการเสื่อมสลายทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด กระดูกหักได้ง่ายมากขึ้นกว่าคนปกติ
โดยทั่วไปอาการแสดงของผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนมักจะมี 2 ระยะคือ
1. ในระยะเริ่มต้นที่มวลกระดูกเริ่มลดลงเรื่อยๆ ผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการอะไร เลย ส่วนใหญ่มักจะเริ่มต้นในผู้หญิงที่เริ่มหมดประจำเดือน และมีปัจจัยเสี่ยง ช่วงนี้สามารถตรวจสอบได้จากการวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกเท่านั้น
2. ในระยะที่กระดูกพรุนชนิดรุนแรง คือ มีกระดูกโปร่งบางมาก ร่วมกับมีกระดูกสันหลังหักยุบ หรือการเกิดกระดูกสะโพกหัก ซึ่งผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดหลัง หลังโก่งค่อม และสังเกตได้ว่าส่วนสูงของผู้ป่วยลดลง ในบางครั้งอาการปวดหลังอาจจะร้าวมาที่บริเวณหน้าอก หลังโก่ง ทานข้าวได้น้อยลง อืดท้องแน่นท้อง มักจะพบได้ในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป บางครั้งอาจเกิดกระดูกหักที่ตำแหน่งบริเวณข้อมือ กระดูกหักง่าย ปวดเมื่อยตามร่างกาย เช่นในผู้ป่วยรายที่ผมจะยกตัวอย่างต่อไปนี้ครับ

ภาพของผู้ป่วยที่มีหลังโก่งเนื่องจากมีการยุบตัวของกระดูกสันหลัง

นอกจากหลังโก่ง ผู้ป่วยยังมีอาการปวดหลัง ร่วมกับอาการปวดร้าวลงขา ลงน่องและชาบริเวณหลังเท้าร่วมด้วย





ภาพรังสีแสดง การยุบของกระดูกสันหลังหลายระดับ วิธีการดูคือจะสังเกตจากความสูงของกระดูกสันหลังเทียบกันในแต่ละระดับจะพบ ว่าส่วนของกระดูกสันหลังที่ยุบลงนั้นจะมีความสูงของกระดูกสันหลังลดลงเมื่อ เทียบกับกระดูกสันหลังที่อยู่ติดกัน

















ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการเกิดโรคกระดูกพรุนได้แก่
  • ประจำเดือนหมดวัยกว่าปกติโดยเฉพาะก่อนอายุ  45 ปี 
  • มีโรคประจำตัวเช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคไทรอยด์เป็นพิษ 
  • ใช้ยาสเตียรอยด์เป็นประจำในปริมาณมาก และต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ทั้งในการรักษาโรค หรือรับประทานเอง
  • มีประวัติครอบครัวทางแม่เคยเป็นโรคกระดูกพรุน หรือเคยมีกระดูกสะโพกหักในครอบครัว โดยเฉพาะครอบครัวฝั่งของมารดา 
  • สูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอลเป็นประจำ 
  • กระดูกหักง่ายหลังจากอายุ 40 ปี 
สำหรับการป้องกันโรคกระดูกพรุนได้แก่
  • ในวัยเด็ก วัยรุ่น ให้ดื่มนม ออกกำลังกายให้เหมาะสม
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเช่น การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่ 
  •  ในวัยที่อายุมากกว่า 40 ปี ให้ได้รับปริมาณของแคลเซียมให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ซึ่งอาจรับประทานแคลเซียมชนิดเม็ดเช่น caltrate 600 มิลลิกรัม รับประทานวันละ 1 เม็ด ก็จะเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เนื่องจากมีการวิจัยพบว่าโดยเฉลี่ย คนไทยได้ปริมาณแคลเซียมจากอาหารประมาณ 300 - 400 มิลลิกรัม ซึ่งถ้าได้รับแคลเซียมเสริมเข้าไปก็จะทำให้เท่ากับปริมาณพอเพียงที่ร่างกาย ต้องการ 
  • ในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 65 ปีแนะนำให้ไปตรวจวัดมวลกระดูกจากเครื่องใหญ่ที่เรียกว่า DEXA (Dual Energy absorptiometry) ซึ่งจะตรวจวัดมวลกระดูก 2 ตำแหน่งคือ ที่บริิเวณกระดูกสันหลังส่วนเอว และ กระดูกสะโพก 
  • ในผู้หญิงที่หมดประจำเดือนร่วมกับมีปัจจัยเสี่ยงแนะนำให้ตรวจวัดมวล กระดูกได้เลย เพื่อประเมินสภาพของมวลกระดูกในขณะนั้นว่าเป็นอย่างไร 
หลังจากที่เราตรวจวัดมวลกระดูกมาแล้ว ไม่ใช่ว่าเมื่อมวลกระดูกติดลบน้อยกว่า  - 2.5 จะมีความจำเป็นต้องทานยาป้องกันกระดูกพรุนทุกครั้ง ซึ่งมักจะทำให้เกิดการรักษาโรคกระดูกพรุนมากเกินความจำเป็น  (Over-treament)  วัตถุประสงค์ของการให้ยารักษาโรคกระดูกพรุนคือ เพื่อ ป้องกันไม่ให้เกิดกระดูกหักในอนาคต หรือลดความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักในอนาคต ซึ่งเราจำเป็นต้องมีการคำนวณความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักในอนาคตของผู้ ป่วยในแต่ละราย ซึ่งเราสารถเข้าไปประเมินความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักในแต่ละบุคคลได้ใน http://www.shef.ac.uk/FRAX/tool.aspx?country=57  ซึ่งเป็นเครื่องมือประเมินความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักจากองค์การอนามัย โรค ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานของคนไทย ซึ่งจะช่วยทำให้ท่านสามารถประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักในแต่ละ บุคคลได้ ดังนั้นการตัดสินใจพิจารณาในการให้ยารักษาโรคกระดูกพรุน เราจะพิจารณาจากความสเี่ยงในการที่จะเกิดกระดูกหักภายใน 10 ปีข้างหน้า ซึ่งถ้าคำนวณออกมาแล้วพบว่า
1.กระดูกตำแหน่งที่สำคัญหัก มีโอกาสหักมากกว่าร้อยละ 20 หรือ
2. กระดูกสะโพก มีโอกาสหักมากกว่าร้อยละ 3   
จึงจะพิจารณาในการให้ยาในการรักษาโรคกระดูกพรุน ซึ่งถ้ามีค่าน้อยกว่านี้ก็ไม่มีความจำเป็นต้องรับประทานยารักษาโรคกระดูกพรุน

ใน กรณีที่ผู้ป่วยเกิดกระดูกสะโพกหัก หรือกระดูกสันหลังยุบแล้ว ผู้ป่วยเหล่านี้มีความจำเป็นต้องรับการรักษาโรคกระดูกพรุน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกระดูกหักเพิ่มขึ้นอีก เช่น ในผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังยุบจากโรคกระดูกพรุน พบว่าถ้าไม่ได้ให้การรักษาที่เหมาะสมจะพบว่าผู้ป่วยมีโอกาสเกิดกระดูกหัก เพิ่มขึ้นอีกประมาณร้อยละ 20

สำหรับปัจจุบัน ยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนจะมีอยู่ 2 ประเภทคือ
1. ยาที่ยับยั้งการทำลายกระดูก เช่น
  • ยาในกลุ่ม Bisphosphonates ที่มีหลากหลายชนิดเช่น ชนิดที่รับประทานอาทิตย์ละ 1 เม็ดเช่น Alendronate (Fosamax plus), Risedronate (Actonel), หรือชนิดที่ฉีดปีละ 1 ครั้งเช่น Zoledronate (Aclasta)
  • ยา Strontium (Protaxos) มีฤทธิ์ในการยับยั้งการทำลายกระดูก 
  • ยาในกลุ่มที่เป็นแอนติบอดี้ มีผลยับยั้งการทำลายกระดูกที่ระดับเซลล์ และไม่มีผลต่อไต ได้แก่ Denosumab (Prolia) ซึ่งใช้ฉีดใต้ผิวหนังทุกๆ 6 เดือน 
สำหรับระยะเวลาในการรักษาโรคกระดูกพรุน แพทย์มักจะแนะนำให้ยาแก่ผู้ป่วยประมาณ 3 - 5 ปี 

2. ยาที่กระตุ้นการสร้างกระดูก  ซึ่งมีผลในการสร้างกระดูกโดยตรง ได้แก่ teriparatide (Forteo)  มีข้อบ่งชี้ในผู้ป่วยที่มีกระดูกหักหลายตำแหน่ง เช่น กระดูกสันหลังยุบมากกว่า 2 ตำแหน่ง กระดูกสะโพกหัก หรือเช่นในผู้ป่วยรายที่ยกตัวอย่างข้างต้น ที่มีกระดูกสันหลังยุบมากกว่า 2 ตำแหน่ง ยานี้ใช้ฉีดใต้ผิวหนังทุกวัน นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ในการลดปวดหลังได้ด้วย

การพิจารณาให้ ยาแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมแต่ละราย และดุลยพินิจของแพทย์ ซึ่งต้องมีการพูดคุยและอธิบายประโยชน์ ข้อดี ข้อเสียของยาแต่ละประเภทให้ผู้ป่วยฟังอีกครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันคือการป้องกันการเกิดกระดูกหักในอนาคต